Nuclear plants information

  • Twitter
  • facebook
  • StumbleUpon
  • Del.icio.us
  • friendfeed
  • Digg
  • Google Buzz

สำหรับผู้ที่อยู่ภายในรัศมี 20 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุคุชิมะ ให้อพยพในทันที ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างจากรัศมี 20-30 กิโลเมตร ให้อยู่ในบ้าน อย่าออกไปข้างนอก

■ข้อมูลหน่วยงานรักษาความปลอดกัยในอุตสาหกรรมและนิวเคลียร์

*กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม

ภาษาญี่ปุ่น: http://kinkyu.nisa.go.jp/
ภาษาอังกฤษ: http://www.nisa.meti.go.jp/english/index.html

■วิธีป้องกันตัวเองจากสารกัมมันตรังสี

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนัง ปิดแผลให้เรียบร้อย หากมีรอยแผลเป็น ให้ใช้พลาสเตอร์ หรือผ้าพันไว้เพื่อป้องกันกัมมันตภาพรังสีผ่านเข้าร่างกายได้
  2. การแผ่รังสีสามารถเข้าสู่นัยน์ตาได้ เนื่องจากสารที่แผ่รังสีมาจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ จะอยู่ในรูปของก๊าซ เพราะฉะนั้นเราจึงควรป้องกันจาการแผ่รังสีที่เป็นอันตรายต่อ ร่างกายจากวัตถุเหล่านั้น ถ้าคุณอยู่กายในอาคารให้ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด ปิดเครื่องปรับอากาศและพัดลมเพื่อป้องกันการเข้ามาจากอากาศภายนอก
  3. ถ้าคุณอยู่ภายนอกตัวอาคารในบริเวณที่มีการแผ่รังสี จำเป็นต้องปิดปากและจมูกด้วยหน้ากาก รวมถึงใส่เสื้อผ้าที่ปกคลุมร่างกายมิดชิดที่สุดเท่าที่จะทำได้
  4. การแผ่รังสีนั้นไร้สีและกลิ่น เราจึงไม่มีทางแน่ใจได้เลยว่าที่ที่เราอยู่นั้นมีการแผ่รังสี เกิดขึ้นหรือไม่ เราจึงต้องป้องกันตัวเองจากการดูดซับรังสีเข้าสู่ร่างกายผ่านการกินและ การหายใจ ทันทีที่สารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลกระทบระยะยาวต่อร่างกาย
  5. ปฏิบัติตามขั้นตอนนี้อย่างเคร่งครัดเป็นเวลาสิบวันหลังจากที่สถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
       ควบคุมเรียบร้อยแล้ว หลีกเลี่ยงการสัมผัสวัตถุที่ได้สัมผัสหรือปนเปิ้อนรังสีแล้วเช่น น้ำ ต้นไม้ หรือฝุ่นละออง

บทความควรรู้เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์และการแผ่ตัวของสารกัมมันตรังสี

อุปกรณ์จำเป็นที่ต้องมีเพื่อการป้องกันการแผ่รังสีจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

  • เครื่องตรวจหาสารกัมมันตรังสี
  • แผนที่
  • พลาสเตอร์ยาปิดแผล (ป้องกันแผลสัมผัสกับสารกัมมันตภาพ รังสี)
  • หมวกหรือผ้าคลุมศีรษะ
  • หน้ากากอนามัย (เพื่อหลีกเลี่ยงการสูตรหายใจรับสารกัมมันตรังสีโดยตรง)
  • เสื้อกันฝน (ป้องกันไม่ให้รังสีเกาะตัวกับเสื้อผ้าที่สวมใส่)
  • ถุงมือยาง (ป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับวัตถุที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี)
  • ถุงขยะ (ใช้ใส่สิ่งของที่ปนเปื้อนรังสี)
  • เทปกาว หรือพลาสติกถนอมอาหาร ใช้สำหรับผนึกปิดช่องประตูหน้าต่าง
  • ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ (ใช้สำหรับถ่ายหนักเบาเมื่ออยู่ในเหตุฉุกเฉิน)

*หน้ากากอนามัย : ควรใช้หน้ากากที่ได้รับการตรวจสอบและผ่านมาตรฐานการรับรองจากรัฐบาล เพราะว่าหน้ากากทั่วไปสารกัมมันตรังสีสามารถเล็ดลอดผ่านเข้าไปได้ ควรจะใช้หน้าหากแบบ DS2 และ DS3 ถ้าเป็นแบบ DS2 จะสามารถกรองสาร กัมมันตภาพรังสีได้ถึง 95% หน้ากากจะมีราคาประมาณ 300 – 600 เยน

วิธีการหาที่หลบภัยในตัวอาคาร

มันอันตรายถ้าจะออกจากสถานที่ที่คุณอยู่ไปยังสถานที่อื่นขณะเกิดเหตุ ระบบการเดินทาง สาธารณะทุกอย่างถูกตัดขาด และโอกาสที่คุณจะหนีไปได้อย่างปลอดภัยแทบจะไม่มี การอาศัยอยู่ในอาคารหรือบ้านจึงปลอดภัยกว่าที่จะเสี่ยงกับการออกไปข้างนอกที่ไม่มีทางรู้ว่า มีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนอยู่หรือไม่

อาหารและน้ำดื่ม

อันดับแรกเตรียมอาหารและน้ำดื่มให้พร้อม ควรจะมีเผื่อไว้ให้สามารถอยู่ได้ประมาณหนึ่ง สัปดาห์ หากระบบน้ำประปายังคงทำงานอยู่ให้กักตุนน้ำในภาชนะให้มากเท่าที่จะทำได้ เพราะถ้าขาดน้ำแล้วจะลำบากต่อการดำรงชีวิตมาก หากแหล่งน้ำประปาได้รับการ ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี น้ำก๊อกก็จะได้รับการปนเปื้อนเช่นเดียวกัน ให้ใช้เครื่องกรองน้ำกรอง ก่อนดื่มหรือใช้ หากมีเครื่องกรองน้ำแบบพกพาจะมีประโยชน์มาก ควรใช้เครื่องที่มี ประสิทธิภาพในการกรองได้สูง การกักตุนเสบียงอาหารให้พอสำหรับหนึ่งสัปดาห์เป็นเรื่องที่ สำคัญเช่นกัน ควรกักตุนอาหารที่ไม่เน่าเสียง่าย อย่างอาหารแห้งเช่น ข้าว อาหารกระป๋อง หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

มลพิษทางอากาศ

เลือกห้องที่มิดชิดที่อากาศภายนอกจะเข้ามาไม่ได้ เตรียมตัวให้พร้อมกับการอยู่ในพื้นที่นั้น  แค่ปิดหน้าต่างอาจจะไม่พอ กรอบหน้าต่างอลูมิเนียมยังจะมีช่องให้อากาศผ่านเข้ามาได ้แม้ว่าจะปิดสนิทแล้วก็ตาม ปิดผนึกช่องประตูหน้าต่างอีกครั้งด้วยเทป เมื่อปิดผนึกทุกอย่าง เรียบร้อยแล้ว อย่าจุดไฟเด็ดขาดเพราะจะทำให้ขาดอากาศหายใจ ฝนอาจจะเป็นตัวนำพา สารปนเปื้อนที่มีอยู่ในอากาศ และเกาะตัวอยู่ในน้ำฝน จึงต้องระวังเป็นอย่างมาก